Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

ถ้าเกิดความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัย ใครช่วยคุณได้บ้าง ?

1 Posts
1 Users
0 Likes
215 Views
punjai
(@punjai)
Posts: 2475
Noble Member
Topic starter
 

image 

ในกรณีที่เราได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัย  หน่วนงานที่มีหน้าที่ดูแลและคุ้มครองผู้บริโภค โดยตรงคือ สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หน่วยงานนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถ และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ระบบประกันภัยเพื่อประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยง โดยมีหน้าที่ คอยดูแลและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้มีความเข้มแข็งมั่นคง  ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทในสังคมรวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของสังคม  และที่สำคัญที่สุดคือ ดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนทางด้านประกันภัย    

 ถ้าหาก คปภ. พบว่า บริษัทประกันภัย พยายามที่จะหลอกลวงลูกค้า หรือ ลูกค้าโดนหลอกลวงไปแล้ว ทาง คปภ. ก็จะเข้าไปจัดการให้ทันที และหากพบว่าบริษัทประกันภัยทำผิดจริง ก็จะถูกยึดใบอนุญาต หรือหากในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือต้องการความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับ ประกันภัยประเภทต่างๆ รวมถึงลักษณะความคุ้มครอง ก็สามารถสอบถามไปที่ คปภ. ได้ผ่านช่องทางดังนี้

  1. สายด่วน1186
  2. กระดานรับร้องเรียน http://www.oic.or.th
  3. ทางe–mail: ppd@oic.or.th
  4. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน http://www.oic.or.th/th/consumer/download-oic-mobile-application

แต่หากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงไม่ได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเหลือดำเนินการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป มีอำนาจดำเนินการภายใต้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. แต่อย่างใด

สิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ มีดังนี้

1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ

4) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

 

บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ตัวอย่างเช่น

การที่บริษัทประกันชีวิตใช้ข้อความโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ อาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 (1) ระบุว่าการโฆษณาต้องไม่เป็นข้อความเท็จ เกินจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งต้องเขียนข้อความที่โฆษณาไว้ในกรมธรรม์ด้วย แต่ไม่พบว่ามีบริษัทใดดำเนินการดังกล่าว ถือว่ามีความผิดในการเสนอขาย มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเรา ก็หมดกังวล  หากไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านประกันภัย  ก็มีถึงสองหน่วยงานที่จะให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิประโยชน์ ให้เราอย่างแน่นอน

#คปภ ร้องเรียน ออนไลน์
#ขายประกัน ไม่มี บัตรนายหน้า
#ร้องเรียน คปภ pantip
#ประกาศ ค ป ภ ล่าสุด
#ขั้นตอนการร้องเรียน คปภ
#ตัวอย่าง จดหมาย ร้องเรียน ค ป ภ
#ตัวแทน ประกัน ไม่ส่งเบี้ย เข้าบริษัท
#ติดตามเรื่องร้องเรียน คปภ

 
Posted : 03/12/2021 5:41 pm
Share: